Nghiên cứu bằng cách sử dụng thảo dược thay thế cho thuốc kháng sinh sản xuất thịt heo an toàn.Lượt truy cập: 2283จากกระแสของผู้บริโภคที่ได้ตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหมูและเนื้อไก่ที่มีวางขายในตลาดทั่วไป ได้มีการตรวจพบสารตกค้างที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ได้แก่ ยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ และเมื่อต่างประเทศได้ส่งคืนเนื้อ.จากประเทศไทยที่ตรวจพบยาปฏิชีวนะตกค้าง ทำให้สื่อมวลชนและผู้บริโภคให้ความสนใจยิ่งขึ้น และเมื่อรัฐบาลได้เห็นความสำคัญของปัญหายาตกค้างในเนื้อ. จึงได้เริ่มมีการประกาศห้ามใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิดในการเลี้ยง. ทำให้เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูเริ่มเกิดปัญหาเกี่ยวกับหมูที่เลี้ยงที่แต่เดิมมีการใช้ยาปฏิชีวนะมากอยู่แล้ว เมื่อเลิกใช้ทำให้หมูเจ็บป่วยมากขึ้น จึงเกิดการลักลอบใช้ยาปฏิชีวนะที่ห้ามใช้ต่อไป เนื่องจากเกษตรกรไม่มีทางเลือกอื่นที่จะนำมาทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องหาสิ่งอื่นมาใช้ทดแทน "สมุนไพร" จึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพในการวิจัยนำมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงหมู เพื่อให้ได้เนื้อหมูที่ปลอดภัยต่อไป Các phương pháp nghiên cứu sử dụng ở lợnจากปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงหมูที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงสนับสนุนงบประมาณให้กับทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ให้ทำการวิจัยนำสมุนไพรมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงหมู เพื่อผลิตเนื้อหมูที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่เนื่องจากการวิจัยการนำสมุนไพรมาใช้เลี้ยงหมูยังเป็นเรื่องใหม่จึงต้องใช้นักวิจัยจากหลายสาขามาร่วมกัน คณะผู้วิจัยจึงประกอบไปด้วยนักวิจัยจากสาขาพฤกษศาสตร์ เภสัชศาสตร์ จุลชีววิทยา สัตวศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ วิทยาศาสตร์เนื้อ. และจากสาขาพัฒนาการเกษตร จำนวน 12 คน ได้ทำการวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543โดยมีการศึกษาทัศนคติของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูต่อการใช้สมุนไพรในการเลี้ยงหมู การศึกษาทัศนคติของผู้บริโภคเนื้อหมูต่อการเลี้ยงหมูด้วยสมุนไพร การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร 5 ชนิด ที่ใช้วิจัยคือ ฟ้าทะลายโจร ใบฝรั่ง ขมิ้นชัน ไพล และเปลือกผลมังคุด การศึกษาการเตรียมยาสมุนไพร การศึกษาแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วงและโรคระบบทางเดินหายใจในหมู การทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคในห้องปฏิบัติการเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะ การทดสอบฤทธิ์ของสมุนไพรในการรักษาหมูที่ป่วยเป็นโรคท้องร่วงและโรคระบบทางเดินหายใจเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะ การศึกษาการใช้สมุนไพรทดแทนยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงหมู การศึกษาคุณภาพซากหมูที่เลี้ยงด้วยสมุนไพร และการศึกษารสชาติของเนื้อหมูและไขมันในเลือดหมูที่เลี้ยงด้วยสมุนไพร ซึ่งการวิจัยดังกล่าวใช้เวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2547 โดยใช้หมูในการศึกษามากกว่า 500 ตัวKết quả của nghiên cứu, việc sử dụng các loại thảo mộc trong con lợn.1. ทัศนคติของเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูต่อการใช้สมุนไพรในการเลี้ยงหมู : จากการเก็บข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงหมู 600 ราย ในจังหวัดสงขลา พัทลุง และตรัง พบว่าฟาร์มขนาดใหญ่มีปัญหาหมูเป็นโรคระบบทางเดินหายใจเป็นอันดับแรก ขณะที่ฟาร์มขนาดเล็กมีปัญหาหมูเป็นโรคท้องร่วงเป็นอันดับแรก เกษตรกรร้อยละ 53.7 คิดว่าการใช้สมุนไพรยุ่งยากกว่าใช้ยาแผนปัจจุบัน เกษตรกรร้อยละ 65.8 คิดว่าถ้าใช้สมุนไพรรักษา.ต้องใช้บ่อยครั้ง และร้อยละ 50.3 ไม่แน่ใจว่าจะได้ผลเท่ายาแผนปัจจุบัน แต่เกษตรกรร้อยละ 83.3 ต้องการทดลองใช้สมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันในการเลี้ยงหมู และร้อยละ 80.3 คิดจะได้เนื้อหมูที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค2. ทัศนคติของผู้บริโภคเนื้อหมูต่อการเลี้ยงหมูด้วยสมุนไพร : จากการเก็บข้อมูลผู้บริโภคเนื้อหมู 700 คน ในจังหวัดสงขลาพบว่าผู้บริโภค 44.1 % ชอบบริโภคเนื้อหมูมากที่สุด รองลงมา 39.1 % บริโภคอาหารทะเลมากที่สุด และ 5.6 % บริโภคเนื้อไก่มากที่สุด สาเหตุที่บริโภคเนื้อหมูมากที่สุด 86.1 % บอกว่า หาซื้อง่ายและรสชาติดี ขณะที่ผู้บริโภคเนื้อหมูน้อย 83.8 % ให้เหตุผลว่า กลัวสารตกค้างในเนื้อหมู และ 78.4 % กลัวไขมันในเนื้อหมูมีผลต่อสุขภาพ นอกจากนี้ผู้บริโภค 76.9 % เชื้อว่าในเนื้อหมูมีสารพิษตกค้าง ผู้บริโภค 89 % เห็นด้วยว่าไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะเลี้ยงหมู และ 90.4 % เห็นด้วยที่ควรวิจัยนำสมุนไพรมาใช้ทดแทนยาปฏิชีวนะ และผู้บริโภค 81.4 % มั่นใจที่จะซื้อเนื้อหมูสมุนไพรมาบริโภคถ้ามีจำหน่าย3. การเตรียมสมุนไพรบดแห้ง : จากการทดลองเตรียมสมุนไพรบดแห้ง 5 ชนิด พบว่า การตากแดด 1-2 วัน และอบด้วยลมร้อนที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง จะได้สมุนไพรที่มีความชื้น 3.5-7.2 % โดยจากการคำนวณจากน้ำหนักสดพบว่าเมื่อเตรียมเป็นสมุนไพรแห้งแล้ว ขมิ้นชัน ไพล เปลือกผลมังคุด ฟ้าทะลายโจร และใบฝรั่ง จะได้น้ำหนักแห้ง 10.2, 12.4, 35.5, 26.5 และ 46.1 % ตามลำดับ และสามารถเก็บไว้ได้นานอย่างน้อย 1 เดือน ที่ยังคงสภาพทางชีวภาพและกายภาพ ยกเว้นไพลจะมีการเปลี่ยนสี4. การวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ในสมุนไพร : จากการวิเคราะห์ตัวอย่างสมุนไพรแห้ง 5 ชนิด พบว่า ฟ้าทะลายโจรมีสาร lactone 9.72 % ใบฝรั่งมีสาร tannin 13.33 % เปลือกผลมังคุดมีสาร tannin 4.25 % ขมิ้นชันมีสาร curcuminoids 10.44 % และ volatile oil 7.0 % ส่วนไพลมีสาร volatile oil 2.5 %5. การตรวจแยกเชื้อแบคทีเรียในหมูที่เป็นโรคท้องร่วงและโรคระบบทางเดินหายใจ : จากการเก็บมูลของลูกหมูยังไม่หย่านมที่ท้องร่วง 42 ตัว พบว่ามีเชื้อ E. coli รวม 101 isolates แต่ไม่พบเชื้อ Salmonella sp. และ Shigella sp. แต่เมื่อเก็บมูลของหมูหลังหย่านมที่อายุ 2-3 เดือนที่ท้องร่วง 15 ตัวอย่าง สามารถตรวจพบเชื้อ Salmonella sp. 8 isolates แต่ไม่พบเชื้อ Shigella sp. และจากการเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่งในจมูกของหมูที่ป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจ 44 ตัวอย่าง พบเชื้อ -Streptococcus non group A 15.91 % และพบเชื้อ -Streptococcus group A 90.91 % แต่ไม่สามารถแยกเชื้อ Mycoplasma sp. เนื่องจากมีการปนเปื้อนของเชื้ออื่น6. การทดสอบฤทธิ์สมุนไพรเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะในห้องปฏิบัติการ : จากการทดสอบการดื้อยาของเชื้อ E.coli 106 isolates ด้วยยาปฏิชีวนะ 8 ชนิด พบว่าเชื้อมีการดื้อยา tetracycline 98.2 % รองลงมาเป็น Sulfa-trimethoprim 83.0 % และดื้อยาน้อยที่สุดคือ norfloxacin 22.6 % และเมื่อทดสอบกับสารสกัดจากสมุนไพรทั้ง 5 ชนิด พบว่า ใบฝรั่งมีฤทธิ์ยับยั้ง เชื้อ E.coli สารสกัดจากเปลือกผลมังคุดมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ Salmonella sp. และสารสกัดจากไพลมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ E.coli และเชื้อ Salmonella sp.
đang được dịch, vui lòng đợi..
